วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2554

||วิธีการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์||



วิธีการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์
การพิจารณาเลือกซื้อคอมพิวเตอร์เป็นขั้นตอนสำคัญซึ่งเราควรทำความเข้าใจก่อนศึกษาเรื่องอื่นซึ่งเนื้อหาในบทนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ และการเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์บางชิ้นในกรณีที่เราต้องการซื้ออุปกรณ์มาประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เอง หรือเราต้องการอัพเกรดอุปกรณ์บางชิ้นภายในเครื่อง เช่น ต้องการซื้อฮาร์ดดิสก์ตัวใหม่ที่มีความจุมากกว่าเดิม หรือซื้อแรมมาเพิ่มให้ประมวลผลได้เร็วยิ่งขึ้น เป็นต้น เนื้อหาในส่วนนี้จะให้รายระเอียดและขั้นตอนในการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เราได้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด และไม่ถูกหลอกในการเลือกซื้อ โดยพอสรุปขั้นตอนที่เราควรคำนึงถึงเป็นแผนภาพดังต่อไปนี้

ลักษณะการใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนแรกที่เราควรพิจารณาในการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ นั่นคือต้องการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้งานอะไร เป็นต้นเพื่อที่เราจะสามารถเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับการใช้งานโดยเราจะแบ่งระดับผู้ใช้งานเป็น 3 ประเภท คือ1. Basic User ได้แก่ ผู้ใช้โปรแกรมประเภท Windows 95/98/Me,Ms Office และดูหนังฟังเพลง2. Power User ได้แก่ ผู้ใช้งานด้านกราฟฟิกและเล่นเกม เช่น โปรแกรม Photoshop ,AutoCAD3. Graphic User ได้แก่ ผู้ที่ใช้งานด้านกราฟฟิกเป็นหลัก เช่น โปรแกรม Photoshop,AutoCAD และ 3D Studio Max ตารางข้างล่างจะเป็นตัวอย่างในการเลือกอุปกรณ์ในการใช้งาน โดยแบ่งตามระดับผู้ใช้งานดังนี้
ระดับผู้ใช้
ซีพียู
ขนาดแรม (MB)
ความเร็วแรม(MHz)
Basic User
Intel Celeron 400-500 MHz AMD K6 350-500 MHzCyrix MII 350 MHz ขึ้นไป
32 หรือ 64
66 หรือ 100
Power User
Intel Pentium III 400 MHz ขึ้นไปAMD K6 III 400 MHz ขึ้นไปCyrix M II 450 MHz หรือ Cyrix M III
64
100
Graphic User
Intel Pentium III 600 MHz ขึ้นไป หรือ AMD k7 600 ขึ้นไป
128
100 หรือ 133
สเป็คของเครื่องคอมพิวเตอร์
เมื่อเราทราบถึงลักษะการใช้งานของเครื่องแล้ว ต่อมาเราจะพิจารณาถึงสเป็ค ของเครื่อง ซึ่งเราควรดู สเป็คของเครื่องคอมพิวเตอร์ว่าเป็นอย่างไร มีความเหมาะสมหรือตรงตามวัตถุประสงค์ในการใช้งานหรือไม่ ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์มีส่วนประกอบหลักๆที่ควรพิจารณามีดังนี้หน่วยประมวลผล (CPU) ว่าเป็นรุ่นใด เช่น Celeron Pentium II Pentium III และ CPU เหล่านี้มีความเร็วในการทำงานเท่าไหร่มีหน่วยความจำหลัก (RAM) ว่ามีขนาดและความเร็วเท่าไหร่ เช่น แรมขนาด 64 MB มีความเร็วในการทำงาน 100 MHzฮาร์ดดิสก์มีขนาดเท่าไหร่ มียี่ห้อหรือเป็นชนิดใดและมีความเร็วในการถ่ายเทข้อมูลเท่าไหร่ใช้เมนบอร์ดรุ่นไหนมีการ์ดจอยี่ห้อหรือรุ่นอะไร และมีหน่วยความจำในการ์ดจอเท่าไหร่มีการ์ดเสียงและลำโพงยี่ห้อหรือรุ่นอะไร ฯลฯ ซึ่งตัวอย่างต่อไปนี้ เป็นสเป็คตัวอย่างของเครื่องในใบเสนอราคาจากร้านค้าแห่งหนึ่ง
37,343 บาท หรือ2,059 บาท/เดือน x 24 เดือนIntel Pentium III 600MHzChipset Intel Mainboard64MB SDRAM (100MHz) Memory15GB Hard Disk Ultra DMA 661.44MB Floppy Disk DriveMedium Twer 250w ATX Case125 WATT Stereo Speaker50X CD-ROM Drive108 Key KeyboardPS/2 Mouse and Mouse pad15" Digital Control Samsung Monitor
ตารางต่อไปนี้จะอธิบายรายละเอียดสเป็คของเครื่องจากโบร์ชัว
สเป็คของเครื่อง
คำอธิบาย
Intel Pentium III 600 MHz
ซีพียู Intel รุ่น Pentium III ความเร็ว 600 MHz
Chipset Intel Mainboard
ใช้ Mainboard ที่ทำงานด้วยชิบเซ็ต จาก Intel
64 MB SDRAM (100 MHz) Memory
หน่วยความจำขนาด 64 MB ทำงานที่ความเร็ว 100 MHz
15 GB Hard Disk Ultra DMA 66
ฮาร์ดดิสก์ขนาด 15 GB ชนิดที่มี ความเร็วในการถ่ายเทข้อมูลแบบ Ultra DMA 66 เมกะไบต์ต่อวินาที
1.44MB Floppy Disk Drive
ฟล็อปปี้ดิสก์ไดร์ฟขนาด 3.5 นิ้วใช้งานกับแผ่นดิสก์เก็ต 1.44MB
Medium Tower 250w ATX Case
เคสขนาดกลาง 250 w ใช้กับบอร์ด ATX
120 Watts Stereo Speaker
ลำโพงสเตอริโอขนาด 120 วัตต์
50X CD-ROM Drive
เครื่องอ่านซีดีรอมความเร็ว 50 เท่า
108 Key Keyboard
คีย์บอร์ด 108 Key
PS/2 Mouse and Mouse pad
เมาส์ขั้วต่อ PS/2 และแผ่นรองเมาส์
15"Digital Control Samsung Monitor
จอภาพขนาด 15 นิ้วระบบดิจิตอล ยี่ห้อ Samsung
ราคาของเครื่องคอมพิวเตอร์ จากตัวอย่างดังกล่าว การที่เราจะเข้าใจใบเสนอราคาเครื่อง ก็ไม่ใช่เรื่องยากเลย เพียงแต่ผู้ใช้ควรมีพื้นฐานภาษาอังกฤษ เพราะใบเสนอราคาเครื่องโดยทั่วไปจะใช้ภาษาอังกฤษทั้งหมด ปัญหาพื้นฐานของผู้ใช้มือใหม่ที่มักจะสับสนว่า อะไรคือชื่อยี่ห้อ อะไรคือชื่ออุปกรณ์ เพราะมองในใบเสนอราคามีแต่ภาษาอังกฤษทั้งนั้น วิธีการแก้ปัญหาคือ การหาชื่ออุปกรณ์ ซึ่งชื่ออุปกรณ์จะใช้คำหลักๆเหล่านี้เสมอ เช่น Mainboard, RAM, Monitor, Keyboard, Mouse ส่วนรายละเอียดอื่นๆที่มีเพิ่มเติม ก็มักจะเป็นยี่ห้อของอุปกรณ์นั้น (ถ้ารายละเอียดเป็นตัวอักษร) เป็นความเร็ว ความจุขนาดของอุปกรณ์นั้น (ถ้ารายละเอียดเป็นตัวเลข) ส่วนรายละเอียดที่แตกต่างจากตัวอย่างที่นำเสนอนั้นจะมีอยู่ไม่มากแล้ว เราสามารถสอบถามจากร้านค้านั้นๆได้
ในปัจจุบันอุปกรณ์หรือเครื่องมีราคาไม่แน่นอน ดังนั้นก่อนซื้อเครื่องเราควรหาข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจว่าเราจะซื้อรุ่นไหน ยี่ห้ออะไร โดยการอ่านข้อมูลในหนังสือหรือการเดินสำรวจตามร้านต่างๆ พร้อมหยิบโบว์ชัวหรือใบเสนอราคา เพื่อนำมาเปรียบเทียบสเป็คและราคาว่าเป็นอย่างไรและราคานี้ยังขึ้นอยู่กับลักษณะของการซื้อด้วย ซึ่งในปัจจุบันเราแบ่งลักษณะของการซื้อคอมพิวเตอร์เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้1. กลุ่มผู้ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์แบบมียี่ห้อ หรือเครื่องแบรนด์เนม (Brand Name) ซึ่งเป็น แบรนด์เนมทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ เช่น Intel,Acer, IBM , Atec, Powell, Success PC เป็นต้น ข้อดี คือการได้เครื่องที่มีคุณภาพสูง อุปกรณ์ต่างๆถูกคำนวณและปรับแต่งด้วยวิศวกรที่ชำนาญ เพื่อให้ประสิทธิภาพเครื่องโดยรวมมีประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ยังมีการประกันและบริการหลังการขายเป็นอย่างดี (ในบางครั้งอาจมีการฝึกอบรมการใช้เครื่องหรือโปรแกรมแก่ผู้ใช้ด้วย)และเมื่อเครื่องเสียจะซ่อมได้ง่ายเนื่องจากช่างรู้อุปกรณ์ต่างๆเป็นอย่างดี ข้อเสีย คือเครื่องมีราคาแพงที่สุดและเลือกสเป็คตามต้องการไม่ได้ (เพราะว่าสเป็คได้ถูกกำหนดมาแล้วเป็นชุด) เนื่องจากการดูแลรักษาง่าย มีปัญหาน้อยที่สุด ดังนั้น การซื้อเครื่องแบบนี้จะเหมาะกับผู้ซื้อไม่มีประสบการณ์ในการใช้เครื่องและมีทุนทรัพย์เพียงพอและเหมาะกับองค์กรที่ใช้เครื่องเป็นจำนวนมาก2.กลุ่มผู้ซื้อเครื่องประกอบตามใบสั่งจากร้าน ข้อดี คือสามารถกำหนดสเป็คและรุ่นได้ ราคาถูก (ส่วนการรับประกันและบริการหลังการขายขึ้นกับทางร้าน) สามารถจำกัดงบได้ ข้อเสียคือการประกอบเครื่องอาจเป็นเพียงการนำอุปกรณ์ตามที่เรากำหนดสเป็คไว้มาประกอบรวมกันเท่านั้น ไม่ได้คำนวณและปรับแต่งเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงยิ่งกว่านั้นถ้าเราไม่มีความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์นั้น เราอาจได้สินค้าที่ไม่มีคุณภาพเพียงพอหรือได้สินค้าปลอม และเมื่อเครื่องเสียต้องยกมาที่ร้านเอง3.กลุ่มผู้ซื้อเครื่องประกอบโดยนำมาประกอบเอง ข้อดี คือได้อุปกรณ์ที่ดีมีคุณภาพเพราะเป็นอุปกรณ์ใหม่แกะกล่อง แน่ใจได้เลยว่าไม่ใช่สินค้าปลอม สามารถเลือกรุ่น และยี่ห้อได้เช่นเดียวกับแบบสั่งประกอบ แต่เลือกได้หลากหลายกว่า และอาจซื้อได้ถูกกว่าอีกด้วย ข้อเสีย คือราคาโดยรวมอาจจะสูงกว่าซื้อตามใบสั่งบางรายการ เพราะอุปกรณ์ที่ได้จะดีกว่าและผู้ซื้อต้องเสียเวลาในการประกอบเครื่องเองและติดตั้งโปรแกรมด้วยตนเอง "คอมพิวเตอร์มีขายเยอะแยะ ทำไมต้องประกอบเอง" คำตอบง่ายๆก็คือ ก็เพราะว่าเครื่องที่ประกอบใช้เองนั้นราคาประหยัดกว่า สามารถเลือกสเปคและยี่ห้ออุปกรณ์ได้ตามความพอใจ และที่สำคัญคือเลือกได้ทันสมัยกว่าเครื่องแบรนด์เนมทั่วไปอีกด้วย


การรับบริการหลังการขาย
สิ่งที่เราควรคำนึงถึงก่อนตัดสินใจในการซื้อที่มีความสำคัญเท่า ๆ กับราคาและสเป็คก็คือบริการหลังการขาย เพราะเมื่อเครื่องมีปัญหาในการทำงาน และทางร้านรับประกันเครื่อง เราสามารถรับบริการได้ตามการประกันนั้น เช่น การซ่อมแซม เป็นต้น ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ รูปแบบในการรับประกันในปัจจุบันนี้รูปแบบการรับประกันมี 2 แบบคือ1. การรับประกันสินค้าแบบรวมค่าแรง เป็นลักษณะที่เมื่อเครื่องเกิดปัญหาทางร้านยินดีไปรับมาซ่อมและนำส่งเมื่อซ่อมเสร็จแล้วโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ โดยส่วนมากจะเป็นร้านที่มีชื่อเสียงและสินค้าที่รับประกันจะเป็นสินค้าที่ดีมีคุณภาพ เช่น สินค้าที่มี Brand name ต่างๆ และมีราคาค่อนข้างแพง2. การรับประกันแบบไม่รวมค่าแรง เป็นลักษณะที่เมื่อเครื่องเกิดปัญหาเราต้องนำเครื่องไปซ่อมเองที่ร้านและรับกลับเองเมื่อซ่อมเสร็จ และบางครั้งอาจมีการคิดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมด้วย ซึ่งการรับประกันแบบนี้จะใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ราคาถูกทั่วไปหรือการซื้อเครื่องมาประกอบเองสำหรับการเลือกบริการหลังการขายนี้เราต้องพิจารณาให้รอบคอบว่าแบบใดจึงจะเหมาะสมกับเครื่อง และลักษณะของการใช้งานแบบไหน ถ้าเป็นการใช้งานเกี่ยวกับโปรแกรมกราฟฟิกหรือโปรแกรมที่มีความซับซ้อน (ระดับ Graphic User) เราควรเลือกรูปแบบการรับประกันสินค้าแบบรวมค่าแรง เพราะนอกจากที่เราจะได้สินค้าที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีแล้ว เมื่อเครื่องหรืออุปกรณ์มีการขัดข้องก็สามารถรับบริการหลังการขายตลอดระยะเวลาในการรับประกันได้ถ้าหากเราเลือกแบบไม่รวมค่าแรงเมื่อเครื่องขัดข้องหรือมีปัญหา เราจะต้องนำเครื่องไปที่ร้านเองทุกครั้งและเสียค่าใช้จ่ายมากด้วย เนื่องจากเป็นโปรแกรมที่มีความซับซ้อนในการใช้งานกว่า ความเสียหายอาจจะมากกว่าเครื่องที่ใช้งานแบบธรรมดา ระยะเวลาในการรับประกัน ในการรับประกันสินค้านั้นทางร้านจะกำหนดระยะเวลาในการประกันด้วย โดยส่วนมากเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีการประกัน 1 ปี แต่ถ้าเราซื้อเครื่องแบบประกอบเราควรจะต้องทราบก่อนว่าอุปกรณ์แต่ละตัวมีการประกัน และมีระยะการรับประกันอย่างไร ซึ่งรายละเอียดของการรับประกันอุปกรณ์แต่ละตัวแสดงดังตาราง
อุปกรณ์
ระยะเวลาในการประกัน*
ฮาร์ดดิสก์
3 ปีสำหรับตัวแทนภายในประเทศ (เช่น ตัวแทนจำหน่วยฮาร์ดดิสก์ Quantum และ Seagate เป็นต้น) 1 ปีสำหรับผู้นำเข้าที่ไม่ใช่ตัวแทนจำหน่ายในประเทศ
หน่วยประมวลผล(CPU)
3 ปีสำหรับซีพียูที่นำเข้าภายในประเทศ1 ปีสำหรับซีพียูที่นำเข้าโดยพ่อค้าคายย่อย
หน่วยความจำ(RAM)
รับประกัน 1 ปี (หรือตลอดอายุการใช้งานซึ่งขึ้นอยู่กับยี่ห้อของหน่วยความจำ)
เมนบอร์ด
รับประกัน 1 ปี
การ์ดแสดงผล
รับประกัน 1 ปี
แหล่งจ่ายไฟ(Power supply)
รับประกัน 1 ปี
*ระยะเวลาในการรับประกันอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นควรมีการเช็คดูก่อนเสมอดังนั้น เราควรจะรักษาสติกเกอร์ให้ดีเพราะถ้าหากสติกเกอร์มีรอยฉีกขาด (หรือในกรณีที่สติกเกอร์ลอกจะเกิดรอยเป็นตัวอักษรคำว่า " Void") หรือมีการแกะสติกเกอร์ออกไม่ว่าจะกรณีใดๆ ทั้งสิ้นทางร้านจะถือว่าการรับประกันสิ้นสุดลง จากเหตุผลข้างต้นเราจึงควรตรวจสอบด้วยว่าผู้ขายได้ติดสติกเกอร์ในตำแหน่งที่เหมาะสมหรือไม่เช่น ถ้าติดสติกเกอร์ในตำแหน่งที่หลุด หรือมีรอยได้ง่าย ในขณะที่เปลี่ยนฮาร์ดดิสก์หรือขณะย้ายเครื่องเราควรแจ้งให้เปลี่ยนตำแหน่งใหม่ ซึ่งตำแหน่งที่จะติดสติกเกอร์ควรเป็นตำแหน่งที่หลีกเลี่ยงการเสียดสีหรือการสัมผัสบ่อยๆ
เมื่อเครื่องเสียหรือต้องการเปลี่ยนอุปกรณ์เราควรแจ้งทางร้านที่รับประกัน เราไม่ควรจะถอดตัวถังของซีพียูเองเนื่องจากผู้รับประกันอาจจะไม่รับประกันเพราะมีรอยเสียหายหรือการถอดเปลี่ยนอุปกรณ์

การตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆในเครื่องคอมพิวเตอร์
เมื่อเราได้เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ แล้วก่อนที่จะออกร้านเราควรเช็คหรือตรวจสอบเครื่องก่อน เพื่อตรวจดูว่าเครื่องที่ได้ตรงตามสเป็คและมีการชำรุดหรือไม่ ซึ่งมีวิธีการตรวจสอบ 3 วิธีดังนี้1. การตรวจสอบโดยเปิดฝาเครื่อง โดยการเปิดฝาเครื่องออกมาเพื่อดูส่วนประกอบภายในเครื่องเป็นการตรวจที่ง่ายที่สุด ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้เราทราบเพียงว่าส่วนประกอบของเครื่องมีอะไรบ้าง แต่ไม่สามารถเช็คการทำงานของอุปกรณ์นั้นๆ ได้ ว่าทำงานได้จริงและมีความถูกต้องหรือไม่ 2. การตรวจสอบด้วยวินโดวส์ โดยการใช้โปรแกรมพิเศษในการตรวจ (เช่น Norton Utilities) หรือใช้Control Panel ที่มีอยู่แล้วในเครื่องก็ได้ ซึ่งวิธีนี้สามารถตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ได้3. การตรวจเครื่องด้วยไบออส เป็นกระบวนการที่ตรวจสอบฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ภายในเครื่องทุกครั้งที่เปิดเครื่องขึ้นมา เช่น หน่วยประมวลผล (CPU) หน่วยความจำ (RAM) ส่วนของอุปกรณ์ในการจัดเก็บข้อมูล อุปกรณ์ต่อพ่วงภายนอกและการ์ดที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อดูว่าฮาร์ดแวร์เหล่านี้สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องหรือไม่หรือมีความขัดข้องในการทำงาน และเป็นวิธีที่เราสามารถเช็คว่า ได้เครื่องตามสเป็คหรือไม่ ถึงแม้ว่าการตรวจด้วยวิธีนี้จะไม่ละเอียดมากนักแต่ก็ทำการตรวจได้รวดเร็วดังนั้นจึงเหมาะในการตรวจดูเครื่องก่อนออกจากร้านสำหรับการตรวจเครื่องโดยใช้ไบออสนั้นทำได้ง่าย เพราะหลังจากที่เราเปิดเครื่องขึ้นมาไบออสจะนำกระบวนการ POST (Power On Self Test) มาตรวจสอบฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ว่าอุปกรณ์เหล่านี้สามารถทำงานได้ถูกต้องหรือไม่ และแสดงข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ในเครื่องให้เราทราบซึ่งถ้าหากเราพบว่าไม่ถูกต้องก็ให้แจ้งกับทางร้านให้ทราบก่อนนำออกจากร้านเพื่อทำการแก้ไขข้อผิดพลาดนั้น ๆในกรณีที่เราสังเกตไม่ทันไม่ควรปิดเครื่องในระหว่างที่วินโดวส์กำลังบู๊ต เพราะจะทำให้วินโดวส์มีปัญหาในการทำงานภายหลังได้ เราควรปิดเครื่องก่อนที่เครื่องจะเข้าสู้ขั้นตอนการบู๊ตของวินโดวส์หรือรอให้วินโดวส์บู๊ตเสร็จก่อนแล้วจึง Restart เพื่อเริ่มการสังเกตข้อความที่แสดงโดยไบออสอีกครั้ง เมื่อเราเปิดเครื่องขึ้นมา โดยทั่วไปที่หน้าจอของเครื่องจะปรากฏหน้าจอ 3 หน้าจอ โดยที่ หน้าจอแรก จะแสดงข้อมูลของการ์ดแสดงผล ที่หน้าจอแรกนี้จะแสดงข้อมูลของการ์ดแสดงผลที่ใช้ในเครื่อง ได้แก่ ยี่ห้อ, รุ่นของชิป CPU, ชนิดของ Slot ติดตั้ง, ขนาดของแรมบนการ์ด,เวอร์ชันของ BIOSที่ใช้บนการ์ด หน้าจอที่สอง จะแสดงการตรวจสอบสถานะของเครื่อง (Power On Self Test) โดยเริ่มจากมีเสียง Beep ดัง 1 ครั้ง แสดงว่าเครื่องทำงานปกติ (แต่ถ้าได้ยินเสียงดังมากกว่า 1 ครั้ง ให้รีบปิดเครื่องทันที) จากนั้นเครื่องจะเริ่มตรวจนับแรมรุ่นและความเร็วของซีพียู ต่อไปก็จะทำการตรวจสอบฮาร์ดดิสก์ และซีดีรอมไดรว์ต่อไป หน้าจอที่สาม จะแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการตรวจสอบ ที่หน้าจอนี้จะแสดงอุปกรณ์ เช่น รุ่นและความเร็วของซีพียู ขนาดของหน่วยความจำ Cache ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ รุ่นของฮาร์ดดิสก์ และซีดีรอมไดรว์ เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ความเป็นมา


คอมพิวเตอร์ (อังกฤษ: computer) หรือในภาษาไทยว่า คณิตกรณ์[2][3] เป็นเครื่องจักรแบบสั่งการได้ที่ออกแบบมาเพื่อดำเนินการกับลำดับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ โดยอนุกรมนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อพร้อม ส่งผลให้คอมพิวเตอร์สามารถแก้ปัญหาได้มากมาย
คอมพิวเตอร์ถูกประดิษฐ์ออกมาให้ประกอบไปด้วยความจำรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูล อย่างน้อยหนึ่งส่วนที่มีหน้าที่ดำเนินการคำนวณเกี่ยวกับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ และตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ และส่วนควบคุมที่ใช้เปลี่ยนแปลงลำดับของตัวดำเนินการโดยยึดสารสนเทศที่ถูกเก็บไว้เป็นหลัก อุปกรณ์เหล่านี้จะยอมให้นำเข้าข้อมูลจากแหล่งภายนอก และส่งผลจากการคำนวณตัวดำเนินการออกไปหน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์มีหน้าที่ดำเนินการกับคำสั่งต่างๆ ที่คอยสั่งให้อ่าน ประมวล และเก็บข้อมูลไว้ คำสั่งต่างๆ ที่มีเงื่อนไขจะแปลงชุดคำสั่งให้ระบบและสิ่งแวดล้อมรอบๆ เป็นฟังก์ชันที่สถานะปัจจุบันคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกถูกพัฒนาขึ้นในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ค.ศ. 1940 – ค.ศ. 1945) แรกเริ่มนั้น คอมพิวเตอร์มีขนาดเท่ากับห้องขนาดใหญ่ ซึ่งใช้พลังงานมากเท่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล(พีซี) สมัยใหม่หลายร้อยเครื่องรวมกัน[4]
คอมพิวเตอร์ในสมัยใหม่นี้ผลิตขึ้นโดยใช้วงจรรวมหรือวงจรไอซี (Integrated circuit)โดยมีความจุมากกว่าสมัยก่อนล้านถึงพันล้านเท่า และตัวเครื่องใช้พื้นที่เพียงเศษส่วนเล็กน้อยเท่านั้น คอมพิวเตอร์อย่างง่ายมีขนาดเล็กพอที่จะถูกบรรจุไว้ในอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์มือถือนี้ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ขนาดเล็ก และหากจะมีคนพูดถึงคำว่า "คอมพิวเตอร์" มักจะหมายถึงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของยุคสารสนเทศ อย่างไรก็ดี ยังมีคอมพิวเตอร์ชนิดฝังอีกมากมายที่พบได้ตั้งแต่ในเครื่องเล่นเอ็มพีสามจนถึงเครื่องบินขับไล่และของเล่นชนิดต่างๆ จนถึงหุ่นยนต์อุตสาหกรรม

Central Processing Unit : CPU
          หน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit) หรืที่นิยมเรียกย่อๆ ว่า ซีพียู (CPU) เป็นส่วนตีความ และประมวลผล ตามชุดของคำสั่งเครื่องจากซอฟแวร์ หน่วยประมวลผลเปรียบเสมือนเป็นสมองของคอมพิวเตอร์ ในการทำหน้าที่ตัดสินใจ หรือคำนวณ จากคำสั่งที่ได้รับมา เช่น การเปรียบเทียบ การกระทำการทางคณิตศาสตร์ ฯลฯ โดยมีกระบวนการพื้นฐานคือ
อ่านชุดคำสั่ง (fetch)
ตีความชุดคำสั่ง (decode)
ประมวลผลชุดคำสั่ง (execute)
อ่านข้อมูลจากหน่วยความจำ (memory)
เขียนข้อมูล/ส่งผลการประมวลกลับ (write back)

Main Board หรือ Mother Board
          เมนบอร์ด (mainboard) หรือ มาเธอร์บอร์ด (motherboard) เป็นแผงวงจรหลักของระบบคอมพิวเตอร์ จะเชื่อม ต่อหรือติดตั้งบน Mother Board นี้ทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็น CPU, Harddrive, VGA Card เป็นต้น
สำหรับเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยทั่วไปจะประกอบด้วย หน่วยประมวลผลกลาง, ไบออส และหน่วยความจำหลักพร้อมช่องให้สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมอื่นๆได้ทั้งอุปกรณ์เสริมภายในและอุปกรณ์เสริมเชื่อมต่อจากภายนอก
ในบางประเทศ โดยเฉพาะในโฆษณาขายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล นิยมใช้ศัพท์แสลงเรียกเมนบอร์ดว่า mobo (โมโบ) โดยเป็นคำย่อจาก motherboard

Main Memory : RAM 
          เป็นหน่วยความจำหลักของระบบ ซึ่งเป็นที่เก็บข้อมูล หรือ โปรแกรมชุดคำสั่งที่คอมพิวเตอร์ต้องใช้ในการ ประมวลผล Main Memory (RAM) ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีด้วยกัน หลายประเภท ได้แก่

   - SIMM RAM (40 pin และ 72 pin) หรือที่เรียกอีกชื่อว่า FastPage และยังมี EDO RAM ซึ่งเพิ่มขีดความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลให้เร็วขึ้น
   - DIMM RAM หรือที่เรียกกันว่า SDRAM เป็นRAM แบบ 168 pin มีตั้งแต่รองรับ Bus 66,100,133 (PC 66, PC 100, PC 133) เป็น RAM ที่ใช้กัน อยู่ในปัจจุบัน
   - RIMM RAM หรือที่รู้จักในชื่อ Direct RAM BUS หรือ RDRAM เป็น RAM ที่ใช้กับ Mother Board ที่ใช้ ChipSet Intel คือ 820i, 840i, 850i ใช้กับ Pentium III และ Pentium IV

   - DDRSDRAM เป็น RAM ที่ขยายเพิ่มขีด ความสามารถให้กับ SDRAM เดิมให้ทำงานได้ที่ความเร็ว 2 เท่า ปัจจุบันมีจำนวนคือ PC 1600, PC 2100 5)
   - VCRAM หรือ Virtual RAM เป็น RAM ที่ไม่ค่อยพบเห็นในบ้านเรา ผลิตโดย บริษัท NEC

Moniter
          จอภาพที่ใช้แสดงข้อมูลหรือโปรแกรม เป็นอุปกรณ์ OUTPUT อย่างหนึ่งที่จำเป็นต้องมีสำหรับการใช้งานคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันจอภาพให้หลายขนาด ได้แก่ 14 นิ้ว 15 นิ้ว 17 นิ้ว และ 19 นิ้ว และมีหลายแบบให้เลือก ทั้งจอภาพธรรมดา (CRT จอใหญ่เหมือนทีวี อ้วน) หรือจอภาพแบน แอลซีดี (LCD จอที่มีลักษณะแบนเรียบทั้งตัวเครื่อง)
Display Card : Vga Card , Pci Card
          เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผลภาพออกทางจอภาพซึ่งปัจจุบันจะ สนับสนุนการทำงานทั้ง 2 มิติ และ 3 มิติ และจะเน้นหนักไปที่การเล่นเกมเป็นหลัก บริษัทผู้ผลิตการ์ดแสดงผล ที่รู้จักกันดีได้แก่ Matrox, Ati, Nvidia, 3DLab และปัจจุบันการ์ดแสดงผลจะมีบทบาทมาก เนื่องจากมีการนำงานการคำนวณที่เกี่ยวกับการแสดงภาพมาคำนวณ ที่การ์ดแสดงผลแทนที่จะต้องคำนวณด้วย CPU จึงมีการเรียก Card ที่ทำงานในลักษณะนี้ว่า GPU (Graphic Processing Unit) ซึ่งจะพบใน Card ตระกูล GeForce ของบริษัท Nvidia ซึ่งปัจจุบัน Card Geforce 2 Ultra ถือเป็น Card ที่เร็วที่สุดในขณะนี้ และในการ์ดแสดงผลบางรุ่นยังมีช่องต่อ TV IN/OUT มาให้ด้วย และ ช่องต่อ Panel Moniter (LCD Moniter) ด้วย บางรุ่นสนับ สนุนการใช้ แว่นตา 3 มิติ เพื่ออรรถรสในการเล่นเกมส์

Rom Drive : Cd Rom , Dvd Rom
        ปัจจุบัน CDROM DRIVE เป็นอุปกรณ์ที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง
ต้องมีเนื่องจากปัจจุบัน Software มีขนาดใหญ่มากไม่สามารถบรรจุ ลงบนแผ่น Floppy Disk ได้อีกต่อไป เทคโนลียีของ CDROM มี อยู่ 2 แบบ คือ
- การหมุนด้วยความ เร็วคงที่
- การหมุนด้วยความเร็ว ไม่คงที่
ซึ่งแบบแรกจะทำให้ออกแบบCDROM ได้ง่ายแต่ความเร็ว ในการเข้าถึงข้อมูลจะไม่คงที่ดังนั้น CDROM ที่ ใช้ระบบนี้จะระบุค่า ความเร็วที่ความเร็วสูงสุดที่ทำได้แทนความเร็ว เฉลี่ยจริงเช่น 50Xmax เป็นต้น ส่วนแบบหลังจะให้ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล แบบคงที่ ตลอดแต่การออกแบบ CDROM ทำได้ยากกว่าทำให้ ไม่เป็นที่นิยมในการออกแบบ และในปัจจุบันนี้บริษัท Kenwood ได้ทำการเสนอเทคโนโลยี TrueXซึ่งใช้แสง Laser 7 เส้น ในการ อ่านข้อมูลจากแผ่น CDROM ทำให้เวลาในการเข้าถึงข้อมูลดีขึ้นจน ความเร็วสูงสุดกับความเร็วเฉลี่ยใกล้เคียงกัน และประกอบกับปัจจุบัน DVDROM DRIVE ได้รับความนิยมอย่างมากเนื่องจากการที่ สามารถเก็บข้อมูลปริมาณมาก ๆ ได้โดยสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่า แผ่น CDROM ประมาณ 12 เท่า อีกทั้งราคาที่ถูกลงอย่างมากทำ ให้เป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่น่าสน ใจ และ CD-RW ซึ่งเป็นเครื่องเขียน CDROM ก็มีราคาที่ถูกลงอย่างมากด้วย คาดว่าอีกไม่นาน DVDROM DRIVE และ CD-RW DRIVE จะเข้ามาแทนที่ ตำแหน่ง CDROM DRIVE เดิม

Hard drive : Hard disk
             เป็นอุปกรณ์ที่ใช้บันทึกข้อมูล หรือ Software ที่เราต้องการ เก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ Harddrive(Harddisk) ปัจจุบันมี มาตรฐานการเชื่อมต่อหลัก ๆ อยู่ 2 แบบ คือ ATA(IDE) และ SISC (สกัสซี่) ซึ่งปัจจุบัน SISC อยู่ที่ ความเร็ว 160 MB/Sec ส่วน ATA อยู่ที่ 100 MB/Sec ทั้งสองมาตรฐานต้องต่อกับ อุปกรณ์เฉพาะที่ออกแบบมากับ แต่ละแบบ ไม่สามารถนำมาต่อเข้าด้วย กันได้ ยกเว้นจะมีตัวควบคุม (Controller) แยกต่างหาก

Printer          
         เป็นอุปกรณ์ Output Deviceซึ่งทำหน้าที่พิมพ์เอกสารหรือรูปภาพที่ต้องการออกทางเครื่องพิมพ์ ปัจจุบันมี Printer อยู่ 3 ประเภท คือ Dotmatrix Printer ซึ่งเป็นแบบหัวกระแทกผ้าหมึกเกิดเป็นตัวอักษรหรือภาพ เหมาะกับงานพิมพ์เอกสาร Inkjet Printer เป็นแบบพ่นน้ำหมึกลงไปบนกระดาษซึ่งงานพิมพ์ที่ออกมาจะมีความ ละเอียดและสวยงามกว่า Dotmatrix Printer แต่ค่าน้ำหมึกแพงจึงเหมาะกับงานที่ต้องการความเร็ว และพิมพ์รูปภาพ มากกว่าการพิมพ์เอกสาร Laser Printer เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีความเร็วสูงที่สุดและมีราคาแพงที่สุดใน 3 ประเภทมีความละเอียดสูงแต่ราคาค่าหมึกแพงเหมาะกับงานทุก ประเภทที่ต้องการความรวดเร็วในการพิมพ์

Modem
             เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณ Analog ไปเป็น สัญญาณ Digital และ จาก Digital ไปเป็นสัญญาณ Analog ซึ่งใน คอมพิวเตอร์นั้นจะมีลักษณะสัญญาณเป็นแบบ Digital ดังนั้นจึงต้อง ใช้Modem ในการแปลงสัญญาณเพื่อที่จะสามารถส่งสัญญาณไปบน สายโทรศัพท์ ธรรมดาได้ วัตถุประสงค์ของ Modem คือใช้ในการ เชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในระยะทางไกล ๆ ซึ่งที่พบเห็น การคือการเชื่อมต่อ Internet จากบ้านไปยังผู้ให้บริการ Internet (ISP Internet Service Provider) ซึ่งในปัจจุบันได้มีการนำเทค โนโลยี ADSL ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อด้วยสัญญาณ Digital โดยต้องใช้ กับ DigitalModemหรือ ADSL Modem ซึ่งจะมีความเร็วใน การเชื่อมต่อ ตั้งแต่ 128 Kbit/Sec ขึ้นไป ซึ่ง Modem แบบ Analog ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน มีความเร็วสูงสุดที่ 56 Kbit/Sec และ Modem ยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือแบบติดตั้งภายใน (Internal Modem) ซึ่งจะเสียบบน ISA Slot หรือ PCI Slot ภายในเครื่อง ราคาถูก อีกแบบ คือแบบติดตั้งภายนอกซึ่งที่พบเห็นบ่อย จะมี 2 แบบ คือต่อผ่าน Serial Port (COM Port) และ แบบต่อ ผ่าน USB Port (Universal Serial Bus) ซึ่งมีราคาที่แพงกว่า แบบติดตั้งภายในแต่สะดวกในการเคลื่อนย้าย และไม่สร้างปัญหาเรื่อง ความร้อนให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์

Network Carsd
        Network Card หรือบางครั้งเรียกว่า LAN Card เป็นการ์ดที่ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย โดยการนำคอมพิวเตอร์มาต่อเชื่อมกันผ่าน LAN Card ซึ่งบางครั้งอาจต้องมีอุปกรณ์อื่นเสริม เช่น HUB, Switching, Rounter เป็นต้น ขึ้นอยู่กับขนาดขององค์กร และวัตถุประสงค์ในการใช้งาน ความเร็วจะมีตั้งแต่ 10 Mbit/sec จนถึงระดับ Gbit/bit ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์และระบบเครือข่ายที่ใช้ว่าเป็นแบบ Bus, Star, Ethernet, Ring, ATM, ISDN เป็นต้น

Case
             เป็นอุปกรณ์ที่เป็นตัวถึงของเครื่องคอมพิวเตอร์มีผู้ผลิตหลายรายได้ทำการผลิตคิดคงรูปร่างของ Case ใหม่ ให้มีสีสันสวยงาม หรือ ออกแบบมาให้เหมาะกับ การใช้งานบางประเภท เช่น Case สำหรับ เครื่อง Server Case ในท้องตลาด ปัจจุบันจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ Case โลหะ และ Case พลาสติก โดยแบบหลังจะมีราคาที่แพงกว่า เพราะมีป้องกันในส่วนของไฟฟ้ารั่ว และ Case ก็จะออกแบบมา ให้เหมาะสมกับ ชนิดของ Mother Board แต่ละประเภทด้วย เช่น Baby AT, ATX, Flex ATX, Micro ATX เป็นต้น

Mouse
             Mouse จัดเป็น Input Device ประเภทหนึ่ง
ซึ่งข้อมูลที่ป้อนเข้าไปจะเป็นตำแหน่งและการกด Mouse มีอยู่ด้วยกัน หลายประเภทโดยจะมี 1)Mouse แบบปกติที่พบเห็นทั่วไปอาจจะมี 2 ปุ่ม หรือ 3 ปุ่ม) Mouseแบบไร้สาย (WireLess) ซึ่งจะใช้ สัญญาณวิทยุโดย Mouse เป็นตัวส่งสัญญาณ และมีตัวรับสัญญาน ที่ต่อกับเครื่องคอม) Mouse แสง (Optical Mouse) เป็น Mouse ที่ไม่มีลูกกลิ้งที่ฐาน Mouse โดยใช้การอ่านค่าจากการ สะท้อนของแสงที่สัมผัสกับพื้นผิวScroll Mouse เป็น Mouse ที่มี Scroll ไว้เพื่อใช้เลื่อน Scroll Bar ในโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ เช่น Internet Explorer นอกจาก Mouse แล้วยังมีอุปกรณ์อีก ประเภทเรียกว่า Track Ball ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายMouse แต่จะมีBall อยู่ด้านบนแทนที่จะอยู่ด้านล่าง และเลื่อน Pointer โดยการ ใช้ นิ้วมือกลิ้งไปบน Ball
Keyboard
             เป็นอีกหนึ่ง Input Device ที่รับข้อมูลเข้าโดยการ ป้อนข้อมูลผ่านแป้นพิมพ์ ในอดีตจะมี key อยู่ 101-102 key แต่ปัจจุบันได้มีการเพิ่ม Function เข้าไปเป็นจำนวน มากทำให้มี key เพิ่มขึ้นมาเป็นจำนวนมาก การออกแบบ keyboard ได้มีการพยายามออกแบบให้ใช้งานง่ายตรงกับลักษณะการพิมพ์ของ คนเพื่อทำให้ไม่รู้สึกเมื่อยล้าเวลาพิมพ์ และยังมีการพัฒนาให้เป็น แบบไร้สายเช่นเดียวกับ Mouse มีการเพิ่ม function Multimedia เข้าไปเช่น เพิ่ม Volume ของเสียง เปิดเพลงเป็นต้น

Speaker     
          ลำโพงนับเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันเทคโนโลยีของลำโพงในปัจจุบันเริ่มมีการสนับสนุนการทำ งานแบบ รอบทิศทาง โดยมีตั้งแต่ลำโพงแบบ 2 ลำโพง, 2 ลำโพง + 1 Subwoofer, 4 ลำโพง, 4 ลำโพง + 1 Subwoofer, 5 ลำโพง และ 6 ลำโพง คือ หน้า(Front)(ซ้าย + ขวา), กลาง(Center), หลัง(Rear)(ซ้าย + ขวา), Subwoofer และบางรุ่นมีตัวถอดรหัส สัญญาณเสียงDigital ด้วย มีช่องต่อ S/P DIF มาด้วย เพื่อรองรับ การ์ดเสียงที่มีช่องต่อ S/P DIF Output เพื่อเพิ่มคุณภาพของเสียง ให้ดียิ่งขี้น

Scaner
             Scanner เป็น Input Device ที่รับข้อมูลโดยการ Scan ภาพหรือ เอกสาร ซึ่งปัจจุบันมีการนำFunction ในการส่งเอกสารเพิ่มเข้าไปใน Scanner ซึ่งสามารถส่งภาพที่ Scan โดยกดปุ่มที่ Scanner แทนที่จะต้องไปแนบภาพกับ e-mail แล้วค่อยส่ง คุณสมบัติของ Scanner จะวัดที่ค่า Resolution ว่ามีความละเอียดเท่าไร แสดงได้กี่สี และความเร็วในการ Scan

Cam
             เป็น Input Device ที่รับข้อมูลเป็นภาพเข้าไปผ่านอุปกรณ์ตัวนี้ซึ่งมีประโยชน์ในการใช้ในการประชุมผ่าน Internet หรือการพูดคุยผ่าน Internet โดยเห็นน่าผู้สนทนากับเราด้วย ซึ่งเป็นอุปกรณ์เสริม แล้วแต่ความจำเป็นของผู้ใช้

Floppy Drive : Drive A
             เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการอ่านและ ขียนแผ่น Floppy Disk ซึ่งมีความจุต่าง ๆ กันเช่น 360KB, 720KB, 1.2MB, 1.44MB, 2.88 MB ซึ่งมีขนาด 3.5" และ 5.25" นอกจาก Floppy Driveแล้วยังมี อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลชั่วคราวอื่น ๆ เช่น Zip Drive,Jazz Drive, SuperDrive และล้าสุดกับ Trump Drive ซึ่งสามารถนำไปต่อกับ Port USB เพื่อทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ทันที

Power Supply
           Power Supply เป็นแหล่งจ่ายไฟให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งปัจจุบันมี Power Supply อยู่ 3 แบบ คือ แบบ AT, ATX, และ Power Supply ที่ออกแบบให้ใช้กับ Mother Board สำหรับ Pentium IVแต่ละแบบจะมีกำลังที่ต่างกัน ตั้งแต่ 200 Watt ขึ้นไป ปัจจุบันกำลังไฟที่ใช้จะอยู่ประมาณ 300 Watt


CPU FAN
         พัดลม CPU นับเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่ต้องเลือกให้ดีเพราะเนื่องจากCPU มีความร้อนสูงการเลือกพัดลมที่ไม่เหมาะกับการ CPU อาจเกิด ความเสียหายต่อ CPU หรือทำให้ระบบคอมฯไม่มีเสถียรภาพ ได้ ปัจจุบัน พัดลม CPU ได้ถูกออกแบบมาเฉพาะกับ CPU แต่ละรุ่น ซึ่งจะมีรูปร่าง และวัสดุที่ใช้ทำต่างกัน มีการนำทองแดงมา ใช้เป็นวัสดุ ในการทำแทน อลูมิเนียม เพื่อช่วยระบายความร้อน ใส่พัดลมที่มีกำลังแรงและมีขนาดใหญ่มีการออกแบบครีบให้มากเพื่อ ช่วยระบายความ ร้อน
Joy Pad
             จัดเป็นอุปกรณ์ Input Device อีกประเภทหนึ่งทำหน้าที่คล้าย Mouse แต่มีไว้สำหรับเล่นเกมส์ ซึ่งผู้ผลิต Game Pad หรือ Joystick จะทำการออกแบบลักษณะของ Game Pad เพื่อให้ ผู้ใช้รู้สึกสนุกและสมจริงกับการเล่นเกม โดยจะมีปุ่มที่ ต่างกันแล้วแต่วัตถุประสงค์ของผู้เล่น เพราะสามารถกำหนดหน้าที่ให้กับปุ่มแต่ละปุ่มได้













วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2554


งานบริการคอมพิวเตอร์


     รหัส (2104-2216)



จุดประสงค์รายวิชา

1. เพื่อให้มีความเข้าใจหลักการทำงาน และโครงสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ การถอด ประกอบ ตรวจสอบภาพชิ้นส่วน หลักการจัดระบบเครือข่ายเพื้องต้น
2. เพื่อให้สามารถบำรุงรักษา ตรวจซ่อม และจัดการธุรกิจคอมพิวเตอร์
3. เพื่อให้มีกิจนิสัยในหารทำงานด้วยความเป็นระดบียบเรียบร้อย ประณีตรอบคอบและปลอดภัย


มาตรฐานรายวิชา

1. เข้าใจหลักการทำงานและการใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบ
2. ประกอบ ติดตั้ง ทดสอบ และตรวจซ่อมเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบ
3. ติดตั้งโปรแกรม และบำรุงรักษาเครือข่ายเบื้องต้น


คำอธิบายรายวิชา

ศึกษาและปฏิบัติ การประกอบ ติดตั้ง ทดสอบ และตรวจซ่อม เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เกี่ยวกับเรื่องพิมพ์ แผววงจรการสื่อสาร การติดตั้งโปรแกรม การจัดห้องซ่อม การรับ-ส่งงาน และประมาณราคา การประมาณราคา การทกสอบคุณภาพงานให้ได้มาตรฐาน